วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555



คำถามทบทวนบทที่  9

1. จงอธิบายความหมายของระบบความฉลาดและปัญญาประดิษฐ์
ตอบ     ระบบความฉลาดหมายถึงระบบที่แสดงพฤติกรรมที่สามารถกล่าวได้ว่า มีความฉลาดตามความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งการศึกษาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มักจะเรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) หรือ AI เนื่อง จากเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นสาขาวิชาที่มีการพลวัตอย่างรวดเร็วส่งผลให้ความหมายและความข้าใจในหลายแขนงวิชามีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
                                                                         
2. AI มีการดำเนินงานที่เหมือนหรือแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไปอย่างไร
ตอบ  AI   มีการดำเนินงานที่แตกต่างเพราะ
                1. AI ทำการประมวล (Manipulating) ทั้งสัญลักษณ์ (Symbols) และตัวเลข (Numbers) ปกติระบบ AI จะถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการประมวลสัญลักษณ์มากกว่าประมวลตัวเลข
                2. AI เป็นชุดคำสั่งแบบมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์ (Non-Algorithmic) หรือHeuristic ปกติระบบสารสนเทศทั่วไปจะดำเนินการวิเคราะห์และแก้ปัญหาตามขั้นตอนโดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ (Algorithm) เป็นสำคัญ
                3.ชุดคำสั่งของระบบ AI จะให้ความสำคัญกับการรับรู้แบบแผน (Pattern Recognition) ตามที่ถูกกำหนดมา เพื่อใช้ในการประมวลผลตามลักษณะของงาน

3. เราสามารถจำแนก AI ออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ   เราสามารถจำแนก AI  ได้  5  ประเภท คือ 
 1.  การประมวลภาษาธรรมชาติ
 2.  ระบบภาพ
 3.  ระบบเครือข่ายเส้นประสาท
 4.  หุ่นยนต์
 5.  ระบบเชี่ยวชาญ

4. ระบบผู้เชี่ยวชาญคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจาก AI อย่างไร
ตอบ   ระบบ ผู้เชี่ยวชาญ คือ เป็นระบบที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาโดยจะเกี่ยวกับการจัดการความรู้มากกว่า สารสนเทศทั่วไป ระบบนี้จัดเป็นงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีการปฏิบัติและติดตั้งใช้งานมาก ที่สุด ระบบจะมีการโต้ตอบกับผู้ใช้ ให้ข้อแนะนำช่วยเหลือ ระบบนี้เป็นการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญมาไว้ในคอมพิวเตอร์

5. จงเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างฐานความรู้กับฐานข้อมูล
ตอบ  ฐานความรู้ (Knowledge Base) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและประสบการณ์ที่สำคัญของผู้เชี่ยวชาญฐานข้อมูล จะเก็บรวบรวมตัวเลข, สัญลักษณ์และอาจมีส่วนแสดงความสัมพันธ์พื้นฐานระหว่างฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันระหว่างแต่ละฐานข้อมูล

6. เราสามารถประเมินความรู้ของระบบสารสนเทศว่ามีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาความรู้อย่างไร
ตอบ    การทดสอบแบบ Turning (Turning Test) โดย กำหนดคอมพิวเตอร์และบุคคลที่มีความรู้ในสาขานั้นตอบคำถามจากผู้สัมภาษณ์ ผู้ตอบคำถาม และระบบความฉลาดถูกจัดให้อยู่ในห้องที่แยกจากกันอย่างเป็นสัดส่วน

7. จงอธิบายขั้นตอนในการพัฒนา ES ตลอดจนเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการพัฒนา ES กับการพัฒนาระบบสารสนเทศปกติ
ตอบ       1.การวิเคราะห์ปัญหา
                2.การเลือกอุปกรณ์
                3. การถอดความรู้
                4. การสร้างต้นแบบ
                5.การขยาย การทดสอบ และบำรุงรักษา

8. วิศวกรรมความรู้คืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างจากการวิเคราะห์และออกแบบอย่างไร
ตอบ  โดยธรรมชาติ วัสดุทุกชนิดจะมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนรูปในลักษณะทั้งแบบยืดหยุ่นได้ (รูปร่างกลับ มาเหมือนเดิม) และแบบถาวร (รูปร่างเปลี่ยนไปแบบถาวร ไม่เหมือนก่อนการเปลี่ยนรูป) ซึ่งการเปลี่ยนรูปดังกล่าวจะเป็นแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับแรงที่มากระทำกับวัสดุ และค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ โดยที่ถ้าแรงที่มากระทำกับวัสดุมากกว่าค่าการกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ การเปลี่ยนรูปแบบถาวรก็จะเกิดขึ้นแต่ถ้าแรงที่มากระทำกับวัสดุไม่มากเกินค่า การกลับคืนตัวแบบยืดหยุ่นของวัสดุ วัสดุก็จะกลับคืนสู่รูปร่างเดิม

9. จงอธิบายการทำงานของระบบเครือข่ายใยประสาท
ตอบ     จะต้องประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่ต่อเรียงกันเข้าเป็นระบบอย่างน้อย 2ระดับโดยระดับแรกเรียกว่า ระดับนำเข้าทำ หน้าที่รับสิ่งนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้าสู่ระบบ แล้วทำการสงต่อให้เครือข่ายในระดับถัดไปตาหน้าที่และความสัมพันธ์ที่ถูก กำหนดจนกระทั่งถึงระดับสุดท้ายหรือที่เรียกว่าระดับแสดงผลลัพธ์
10. ท่านคิดว่าแนวโน้มและทิศทางในการพัฒนาระบบความฉลาดของคอมพิวเตอร์จะเป็นไปในทิศทางใด
ตอบ    คอมพิวเตอร์ ยุคปัจจุบันมีวิวัฒนาการก้าวหน้าไปมาก และได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์แทบจะทุกสาขา สำหรับการศึกษาและการค้นคว้าวิจัยทางเคมีนั้น คอมพิวเตอร์ได้มีส่วนช่วยทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในระยะหลังๆนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้คอมพิวเตอร์คำนวณและออกแบบก่อนทำการทดลองจริง ในการทดลองบางอย่าง ในสถานการณ์เหล่านี้คอมพิวเตอร์เป็นทางออกที่ดีทีเดียว ความสำเร็จของคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบโมเลกุลนี้ ไม่เพียงปรากฏผลเฉพาะแต่ในวงการวิชาการเท่านั้น หากยังออกดอกออกผลไปสู่อุตสาหกรรมอีกด้วย





คำถามทบทวนบทที่  11

1. เหตุใดผู้บริหารระดับสูงสมควรต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  เพื่อการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ
2. จงอธิบายขั้นตอนในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในองค์การ
ตอบ        1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
                2. กำหนดแผนการสารสนทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
                3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล และระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพ และความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
                4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิภาพผลสูงสุดแก่องค์การ
3. ระบบสารสนเทศด้านบัญชีมีลักษณะอย่างไร และสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการอย่างไร
ตอบ  รวบรวมจัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้ สารสนเทศที่สามารถวัดค่าได้หรืการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิง คุณภาพ โดยระบบสารสนทศด้าน การบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
1. ระบบการบัญชีการเงิน (Financial Accounting System)
2. ระบบบัญชีบริหาร (Managerial Accounting System)

4. ระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีหน้าที่อย่างไรบ้าง
ตอบ        1. การพยากรณ์ (Forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือกและการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ
                2. การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับรายจ่าย
                3. การควบคุมทาการเงิน (Financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของ  ธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
                1. การควบคุมภายใน (Internal Control)
                2. การควบคุมภายนอก (External Control)
5. ระบบย่อยของระบบสสารสนเทศด้านการตลาดมีอะไรบ้าง
ตอบ        1. ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย
                2. ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
                3. ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย
                4. ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
                5. ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย
                6. ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร
                7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
                8. ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย
6. เราสามารถหาข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการผลิตและการดำเนินงานขององค์การได้จากแหล่งใดบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ        1. การปฏิบัติงาน (Operations) เป็น ข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาดตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่าน มา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วย ในการตรวจสอบ ควบคุม และวางแผนแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
                2. การวิจัยตลาด (Marketing Research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรืบริการของ ธุรกิจ
                3. คู่แข่ง (Competitor) คำกล่าวที่ว่ารู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้งแสดง ความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงานของคู่แข่งขัน ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดได้อย่างเหมาะสม
                4. กลยุทธ์องค์การ (Corporate Strategy) เป็น ข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ
                5. ข้อมูลจากภายนอก (External Data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยีซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ

7.  ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุหรือ MRP คืออะไร และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร
ตอบ       1. ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต
                2. ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง
                3. ช่วยให้บุคลากรมีเวลาในการปฏิบัติงานอื่นมากขึ้น
                4. ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ
                5. ช่วยให้องค์การสามารถปรับตัวอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

8. ข้อมูลจากแผนกกลยุทธ์ขององค์การเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ   เป็นแม่แบบและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตและการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
9.  เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการจัดการทรัพยากรบุคคลอย่างไร
ตอบ     1. ความสามารถ (Capability)
                2. การควบคุม (control)
                3. ต้นทุน (Cost)
                4. การติดต่อสื่อสาร (communication)
                5. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

10. จงยกตัวอย่างความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
ตอบ       ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล  (human resource information system) หรือHRIS หรือระบบสานสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (personnel information system) หรือPIS เป็น ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ การ ประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานช่วย ให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
                1. ความสามารถ
                2. การควบคุม
                3. ต้นทุน
                4. การติดต่อสื่อสาร
                5. ความได้เปรียบในการแข่งขัน
                6. การวางแผนทำกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจโดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาดยอดขายในอดีต สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
                7. ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขันกำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง
                8. ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย บุคคล ที่เป็นผู้ควบคุมสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไร กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่นเงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้นปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายโอกาสและเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า ซึ่งทำให้นักการตลาดสมัยใหม่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อ ให้เกิดโอกาสและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ ซึ่งจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น