วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 1-8


คำถามทบทวนบทที่  1
1.จงอธิบายความหมายและส่วนประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึงเทคโนโลยีที่ประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลระบบสื่อสารโทรคมนาคม  และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน  จัดการ  และใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  เราจะเห็นว่าความหมายดังกล่าวเป็นความหมายที่กว้างและไม่ได้กำหนดรายละเอียดที่ชัดเจน  เนื่องจากการพลวัตของเทคโนโลยีที่รวดเร็วส่งผลให้เราไม่สามารถกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจง  อย่างไรก็ดี  เราสามารถกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีองค์ประกอบสำคัญ  3  ประการดังต่อไปนี้
                1.ระบบประมวลผล  ความซับซ้อนในการปฏิบัติงานและความต้องการสานสนเทศที่หลากหลาย  ทำให้การจัดการและการประมวลผลข้อมูลด้วยมือไม่สะดวก  ล่าช้า  และอาจผิดพลาดได้
                2.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม  การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล  ตลอดจนการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ
                3.การจัดการข้อมูล  ปกติบุคคลที่ให้ความสนใจกับเทคโนโลยีจะอธิบายความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยให้ความสำคัญกับส่วนประกอบ  2 ประการแรก  แต่ผู้สนใจด้านการจัดการข้อมูล  (Data/Information  Management)  จะให้ความสำคัญกับส่วนประกอบที่  3  ซึ่งมีความเป็นศิลปะในการจัดรูปแบบ  และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2.เหตุใดการจัดการข้อมูลจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
                ตอบ  สาเหตุที่การจัดการข้อมูลเป็นส่วนประกอบสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ  เนื่องจากมีความเป็นศิลปะในการจัดรูปแบบ  และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 
3.หน่วยประมวลผลกลาง  (CPU)  มีหน้าที่อะไร  และสามารถเปรียบเทียบกับอวัยวะส่วนใดของมนุษย์
                ตอบ  หน่วยประมวลผลกลาง  (Central  Processing  Unit)  หรือที่เรียกว่า  CPU  ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์  โดยที่เราสามารถเปรียบเทียบ  CPU  กับสมองของมนุษย์ที่มีหน้าที่หลัก  2  ประการคือ
                -ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
                -คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล
4.เราสามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
                ตอบ  ประเภทของคอมพิวเตอร์เราสามารถจำแนกออกเป็น  4  ประเภทดังนี้
                1.ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์  (Supercomputer)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่  มีประสิทธิภาพในการประมวลผลและมีความเร็วสูง
                2.เมนเปรมคอมพิวเตอร์  (Mainframe)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยความจำและระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก  เนื่องจากมีศักยภาพสูง  และมีความสามารถในการทำงานที่ซับซ้อนในเวลาที่รวดเร็ว
                3.มินิคอมพิวเตอร์  (Minicomputer)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับงานสารสนเทศ  สำหรับองค์การที่ต้องการการประมวลผลข้อมูลในระดับปานกลาง
                4.ไมโครคอมพิวเตอร์  (Microcomputer)  หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะมีศักยภาพค่อนข้างต่ำ  ทำให้ไม่สามารถนำไปประยุกต์ในงานทางธุรกิจที่ซับซ้อนและหลากหลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
5.เหตุใดจึงมีผู้กล่าวว่า  “คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรที่เปลี่ยนแปลงโลก”  และท่านเห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้ด้วยหรือไม่  เพราะเหตุใด
ตอบ  ไม่เห็นด้วย  เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรงในสังคมได้ เหมือนอย่างที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ถ้าขาดเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมาสนับสนุน ปัจจุบันเราสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การได้หลากหลาย ตั้งแต่การปฏิบัติงานประจำวัน การวางแผนยุทธวิธีและการกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจโดยเทคโนโลยีสื่อสารจะช่วยเพิ่มผลิตและทางเลือกในการสื่อสาร และการจัดการข้อมูล
6.ชุดคำสั่งและภาษาคอมพิวเตอร์คืออะไร  และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ  ชุดคำสั่งที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสาร และสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยชุดคำสั่งจะทำหน้าที่สั่งงานและควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานที่กำหนด
          ภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร สารระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกราบรื่น 
          มีความสัมพันธ์ คือ ชุดคำสั่งสำหรับใช้งานและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ จะถูกเขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาและการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องทำการเรียนรู้ภาษาเครื่อง ซึ่งเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละระบบ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างดี

7.ภาษายุคที่   4  หรือ  4GL  เป็นอย่างไร  และมีความแตกต่างจากภาษาคอมพิวเตอร์ในอดีตอย่างไร
ตอบ  ภาษาในยุคที่ 4 จะเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้ง่ายต่อการเรียนรู้และการนำไปใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เขียนชุดคำสั่งและผู้ใช้ที่มีความรู้จำกัดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
8.จงยกตัวอย่างและอธิบายรายละเอียดของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่เป็นประโยชน์ต่องานสารสนเทศขององค์การ
ตอบ  การสื่อสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจัดการและประมวลผล ตลอดจนการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ดีต้องประยุกต์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้ที่อยู่ห่างกัน ให้สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำถามทบทวนบทที่  2

1.นิยามความหมายและยกตัวอย่างของระบบสารสนเทศเพื่อกรจัดการ
ตอบ  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management  Information  System)  หรือ  MIS  หมายถึงระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง    ทั้งภายในและภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์  เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน  และการตัดสินใจในด้านต่าง    ของผู้บริหาร
2.ข้อมูลและสารสนเทศมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  ข้อมูล  (Data)  หมายถึงข้อมูลดิบ  (Raw  Data)  ที่ถูกเก็บรวบรวมจากแหล่งต่าง    ทั้งภายในและภายนอกองค์กร  ส่วนสารสนเทศ  (Information)  หมายถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบที่ถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ  แต่อย่างไรก็ดี  ข้อมูลและสารสนเทศสามารถใช้ทดแทนกันในหลายโอกาส   แต่บางครั้งอาจมีความหมายที่แตกต่างกันมาก  เนื่องจากความเจาะจงในการใช้งาน 
3.สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ  การพัฒนาระบบสารสนเทศต้องคำนึงถึงคุณสมบัติสำคัญของ  MIS  ดังต่อไปนี้
                              1.ความสารถในการจัดการข้อมูล  (Data  Manipulation)
                              2.ความปลอดภัยของข้อมูล  (Data  Security) 
                              3.ความยืดหยุ่น  (Flexibility) 
                              4.ความพอใจของผู้ใช้งาน  (User  Satisfaction)
4.ระบบสารสนเพทศเพื่อการจัดการมีประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจอย่างไร
ตอบ  ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีดังนี้
                1.ช่วยให้ผู้ใช้สารมารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
                2.ช่วยผู้ใช้ในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และการวางแผนปฏิบัติการ
                3.ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน
                4.ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
                5.ช่วยให้ผู้ใช้มารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้น
                6.ช่วยลดค่าใช้จ่าย  ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ธุรกิจลดเวลา  แรงงานและค่าใช้จ่ายในการทำงาน
5.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง
ตอบ  ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะจัดระบบสารสนเทศในองค์การให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้  ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาสะดวก  รวดเร็ว  และถูกต้อง
6.บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีกี่ระดับ  อะไรบ้าง
ตอบ  บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมี  3  ระดับ  ดังต่อไปนี้
1.หัวหน้างานระดับต้น  (First-Line  Supervisor  หรือ  Operation  Manager) 
2.ผู้จัดการระดับกลาง  (Middle  Manager)  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ควบคุมการประสานงานระกว่างหัวหน้างานระดับปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง
3.ผู้บริหารระดับสูง  (Executive  หรือ  Top  Manager)  เป็นกลุ่มบุคคลที่ทำการกำหนดวิสัยทัศน์  ทิศทาง  วางนโยบาย  และแผนงานระยะยางขององค์การ
7.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการใช้งานระบบสารสนเทศและระดับของผู้บริหารในองค์การ
ตอบ                                       แสดงความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศกับระดับผู้บริหาร

ลักษณะของระบบ
ระดับของผู้ใช้
ผู้จัดการระดับปฏิบัติการ
ผู้จัดการระดับกลาง
ผู้จัดการระดับสูง
-ที่มาของสารสนเทศ
-ภายใน
-ภายใน
-ทั้งภายในและภายนอก
-วัตถุประสงค์ของการใช้สารสนเทศ
-ปฏิบัติงาน
-ควบคุมผลปฏิบัติงาน
-วางแผน
-ความถี่ของการใช้สารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ไม่แน่นอน
-ขอบเขตของสารสนเทศ
-แคบแต่ชัดเจน
-ค่อนข้างกว้าง
-กว้าง
-ความละเอียดของสารสนเทศ
-มาก
-สรุปกว้างๆ
-สรุปชัดเจน
-การายงานเหตุการณ์
-ที่เกิดขึ้นแล้ว
-เกิดแล้ว/กำลังจะเกิด
-อนาคต
-ความถูกต้องของสารสนเทศ
-สูง
-ปานกลาง
-ตามความเหมาะสม


8.ผู้บริหารควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การอย่างไร
ตอบ  ผู้บริหารควรมีบทบาทต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การดังนี้
                1.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างประสิทธิภาพ  และความพร้อมในการแข่งขันให้กับองค์การ
                2.เข้าใจความต้องการของระบบและองค์การในสภาพแวดล้อมยุคโลกาภิวัตน์
                3.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานทั่วทั้งองค์การ
                4.มีส่วนร่วมในการออกแบบและการพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศรวมขององค์การ
                5.บริหารและตัดสินใจในการสรรหาและคัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารโทรคมนาคม
9.โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ส่วน  อะไรบ้าง
ตอบ  โครงสร้างของหน่วยงานสารสนเทศในองค์การจะแบ่งเป็น  3  ส่วนดังต่อไปนี้
                1.หน่วยวิเคราะห์และออกแบบระบบ  (System  Analysis  and  Design  Unit)  มีหน้าที่ในการศึกษา  วิเคราะห์  พัฒนา  และวางระบบงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศให้เหมาะสม
                2.หน่วยเขียนชุดคำสั่ง  (Programming  Unit)  มีหน้าที่นำระบบงานที่ได้รับการออกแบบหรือความต้องการเกี่ยวกับชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์  จากหน่วยงานอื่นมาทำการเขียนหรือพัฒนาชุดคำสั่ง
                3.หน่วยปฏิบัติการและบริการ  (Operations  and  Services  Unit)  ทำหน้าที่ควบคุมและจัดการให้เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สนับสนุน  สามารถทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
10.บุคลากรของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ  บุคคลการของหน่วยงานสารสนเทศแบ่งออกเป็น  7  ประเภทดังนี้
                1.หัวหน้าพนักงานสารสนเทศ  (Chief  Information  Officer )  หรือที่นิยมเรียกว่า  CIO  เป็นบุคลากรระดับสูงขององค์การ
                2.นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  (System  Analysis  and  Design)  หรือที่นิยมเรียกว่า  SA  มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงานในระดับต่าง 
                3.ผู้เขียนชุดคำสั่ง   (Programmer)  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนชุดคำสั่ง  เพื่อควบคุมและสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ 
                4.ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์  (Computer  Operator)  ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
                5.ผู้จัดตารางเวลา  (Scheduler)  ทำหน้าที่จัดตารางเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ให้กับงานแต่ละชนิดภายในห้องคอมพิวเตอร์
                6.พนักงานจัดเก็บและรักษา  (Librarian)  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่เก็บรักษาและจัดทำรายการของอุปกรณ์
                7.พนักงานจัดเตรียมข้อมูล  (Data  Entry  Operator)  ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลจากเอกสารเบื้องต้น  มาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำความเข้าใจได้
11.เพราะเหตุใดผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับจริยธรรมและจรรยาบรรณ
ตอบ        เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information  Technology)  หรือที่เรียกว่า  IT  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  อีกทั้ง  IT  มีอิทธิพลอย่างมากในเรื่องการกระจายอำนาจ  ทรัพย์สิน  สิทธิและความรับผิดชอบ  การพัฒนา  IT  ทำให้เกิดผู้แพ้  ผู้ชนะ  ผู้ได้ประโยชน์  หรือผู้เสียประโยชน์  จะเห็นว่าระบบข้อมูลสารสนเทศนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูล  รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง  โดยแผนกหรือฝ่ายสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีนโยบายที่แน่นอนในการจัดการข้อมูลให้เกิดความปลอดภัย  ใช้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์  จึงเป็นสิ่งสำคัญของผู้ทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญ
12.จงอธิบายตัวอย่างผลกระทบทางบวกและทางลบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ตอบ  ผลกระทบทางบวกมีดังนี้
                1.เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร  การบริหาร  และการผลิต
                2.เกิดสังคมแห่งการสื่อสารและสังคมโลก
                3.มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่าง    ในฐานข้อมูลความรู้ 
                4.เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ  หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย
                5.พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่
                6.การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
                7.ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น
          ผลกระทบทางลบมีดังนี้
                1.ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม
                2.ก่อให้เกิดความการรับวัฒนธรรมหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก
                3.ก่อให้เกิดผลด้านศีลธรรม
                4.การมีส่วนร่วมของคนในสังคมลดน้อยลง
                5.การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
                6.เกิดช่องว่างทางสังคม
                7.เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี
                8.อาชญากรรมบนเครือข่าย
                9.ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ




คำถามทบทวนบทที่  4
1.ผู้ใช้มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไรบ้าง
ตอบ   ผู้ใช้ระบบ  (System  User)  หมายถึงผู้จัดการที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์การและ/หรือเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานกับระบบสารสนเทศ  ผู้ใช้จะเป็นบุคคลที่ใช้งานและปฏิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศโดยตรง  ดังนั้นผู้ใช้ระบบจึงควรมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศ  ตั้งแต่เริ่มต้นที่จะพัฒนาระบบใหม่ให้กับองค์การ  โดยบุคคลหรือกลุ่มควรที่จะมีการทำงานที่ใกล้ชิดกับทีมงานผู้พัฒนาระบบหรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานผู้พัฒนาระบบ  เพื่อให้การพัฒนาระบบใหม่สำเร็จลงด้วยดีทั้งในด้านงบประมาณ  กรอบของระยะเวลา  และตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ 
2.ปัจจัยที่ช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
ตอบ   ปัจจัยที่ช่วยให้การพัฒนาระบบสารสนเทศประสบความสำเร็จ  คือ
                1.ผู้ใช้ระบบ สมควรต้องมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการพัฒนาระบบ
                2.การวางแผน  ระบบงานที่มีประสิทธิภาพจะเกิดจากการวางแผนการพัฒนาระบบอย่างรอบคอบและเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน
                3.การทดสอบ  ทีมงานพัฒนาระบบต้องออกแบบกระบวนการดำเนินงานของระบบที่กำลังศึกษา
                4.การจัดเก็บเอกสาร  การพัฒนาระบบต้องมีระบบจัดเก็บเอกสารที่สมบูรณ์  ชัดเจนถูกต้อง  ง่ายต่อการค้นหาและอ้างอิง
                5.การเตรียมความพร้อม  มีการวางแผนสร้างความเข้าใจและฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างความมั่นใจว่าผู้ใช้ระบบจะมีความพอใจ
                6.การตรวจสอบและประเมินผล  โดยดำเนินการเป็นระยะ ๆ  ภายหลักจากติดตั้งระบบเพื่อที่จะพิจารณาว่าระบบสารสนเทศใหม่มีความสมบูรณ์ 
                7.การบำรุงรักษา  ระบบสารสนเทศที่ดีไม่เพียงแต่สามรถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น  แต่ต้องออกแบบให้กระบวนการบำรุงรักษาสะดวก  ง่าย  และประหยัด 
                8.อนาคต  เตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาการในอนาคต  ทีมงานพัฒนาระบบสมควรออกแบบระบบให้มีความยืดหยุ่นและสามารถที่จะพัฒนาในอนาคต 
3.หน้าที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีอะไรบ้าง
ตอบ  หน้าที่สำคัญของนักวิเคราะห์ระบบมีดังนี้
                1.ติดต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่าง ๆ  รวมทั้งผู้บริหารทุกระดับที่เกี่ยวข้องตลอดช่วงระยะพัฒนาระบบใหม่
                2.รวบรวมข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น  และนำไปใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบใหม่
                3.วางแผนในแต่ละขั้นตอนของงานให้สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบัน  และวางแผนให้สอดรับกับการขยายตัวขององค์การในอนาคตด้วย
                4.ทำการออกแบบการทำงานของระบบใหม่ให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ  และมีความเหมาะสมมากที่สุด
                5.วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ
                6.วิเคราะห์ข้อกำหนดด้านฐานข้อมูล  รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลที่สามารถใช้กับงานต่าง ๆ  ในระบบได้ 
                7.ทำเอกสารประกอบในแต่ละขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบโดยละเอียด
4.ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศมีลักษณะอย่างไร  ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง  เพราะเหตุใดจึงต้องปฏิบัติงานร่วมกัน
ตอบ  ทีมงานพัฒนาระบบ  (System  Development  Team)  เป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบ  และ/หรือมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาระบบ  ปกติการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์การขนาดใหญ่  จะต้องมีการทำงานร่วมกันของสมาชิกทั้งหลายส่วน
                มีบุคคลกรดังนี้
                1.คณะกรรมการดำเนินงาน  (Steering  Committee)  มีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกัลป์การดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบ
                2.ผู้จัดการระบบสารสนเทศ  (MIS  Manager)  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลและประสานงานในการวางแผนงานของโครงงานต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ
                3.ผู้จัดการโครงการ  (Project  Manager)  เป็นบุคคลที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแผน  การจัดการ  และควบคุมให้งานแต่ละโครงการดำเนินไปได้อย่างราบรื่น
                4.นักวิเคราะห์ระบบ  (System  Analyst)  เป็นบุคคลสำคัญที่ก่อให้เกิดผลงานขึ้นในขั้นตอนต่าง ๆ  ของการพัฒนาระบบ
                5.นักเขียนโปรแกรม  (Programmer)  เป็นบุคคลสำคัญที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุดคำสั่งการดำเนินงานให้กับระบบที่กำลังพัฒนา
                6.เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล  (Information  Center  Personnel)  ทำหน้าที่ช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบและนักเขียนโปรแกรมในการพัฒนาระบบ
                7.ผู้ใช้และผู้จัดการทั่วไป  (User  and  General  Manager)  เป็นบุคคลที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานเดิม    

5.วิธีพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศมีกี่วิธี  อะไรบ้าง
ตอบ  วิธีพื้นฐานในการพัฒนาระบบสารสนเทศมี  4  วิธีดังต่อไปนี้
                1.วิธีเฉพาะเจาะจง  (Ad  Hoc  Approach)  เป็นวิธีการแก้ปัญหาในงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ
                2.วิธีสร้างฐานข้อมูล  (Database  Approach)  เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในหลายองค์การที่ยังไม่มีความต้องการระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
                3.วิธีจากล่างขึ้นบน  (Bottom-Up Approach)  เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศจากระบบเดิมที่มีอยู่ภายในองค์การไปสู่ระบบใหม่ที่ต้องการ
                4.วิธีจากบนลงล่าง  (Top-Down  Approach)  เป็นวิธีการพัฒนาระบบจากนโยบายหรือความต้องการของผู้บริหารระดับสูง 
6.การพัฒนาระบบสารสนเทศประกอบด้วยกี่ขั้นตอน  อะไรบ้าง
ตอบ  การพัฒนาระบบสารสนเทศมี  5  ขั้นตอนดังต่อไปนี้
                1.การสำรวจเบื้องต้น  (Preliminary  Investigation)  เป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ
                2.การวิเคราะห์ความต้องการ  (Requirement  Analysis)  เป็นขั้นตอนที่มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเป็นต้น
                3.การออกแบบระบบ  (System  Design)  ทีมงานพัฒนาระบบจะทำการออกแบบรายละเอียดส่วนต่าง ๆ  ของระบบสารสนเทศ
                4.การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ  (System  Acquisition)  ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง  ตลอดจนบริการต่าง ๆ
                5.การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา  (System  Implementation  and  Maintenance)  ทีมงานพัฒนาระบบจะควบคุมและดูแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ  ของระบบใหม่    
7.ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นสำรวจเบื้องต้น
ตอบ  การสำรวจเบื้องต้น  (Preliminary  Investigation)  เป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ  โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่าง    เกี่ยวกับระบบงาน  ได้แก่  ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  ความเป็นได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ
8.ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
ตอบ  การวิเคราะห์ความต้องการเป็นขั้นตอนที่มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น  โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้ 
9.ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นออกแบบระบบ
ตอบ  ทีมงานพัฒนาระบบจะทำการออกแบบรายละเอียดในส่วนต่าง ๆ  ของระบบสารสนเทศ  ได้แก่  การแสดงผลลัพธ์  การป้อนข้อมูล  กระบวนการเก็บรักษา  การปฏิบัติงาน  และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบงานใหม่ 
10.ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นจัดหาอุปกรณ์ของระบบ
ตอบ  การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ  ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง  ตลอดจนบริการต่าง ๆ  ที่ต้องการจากผู้ขาย 
11.ทีมงานพัฒนาระบบสมควรต้องทำอะไรบ้างในขั้นติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา
ตอบ  การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา  ทีมงานพัฒนาระบบจะควบคุมและดูแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ  ของระบบใหม่  โดยดำเนินการด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา 
12.รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีกี่รูปแบบ  อะไรบ้าง  จงอธิบาย
ตอบ  รูปแบบของวงจรการพัฒนาระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี  4  รูปแบบ  ดังนี้
                1.รูปแบบน้ำตก  (Waterfall  Model)  วงจรการพัฒนาระบบแบบนี้ได้เผยแพร่ใช้งานในปี  ค.ศ. 1970  เป็นรูปแบบที่มีมานานและเป็นที่นิยมใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
                2.รูปแบบวิวัฒนาการ  (Evolutionary  Model)  วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบวิวัฒนาการมีแนวความคิดที่เกิดมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการ  โดยพัฒนาระบบจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์
                3.รูปแบบค่อยเป็นค่อยไป  (Incremental  Model)  วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบค่อยเป็นค่อยไปมีลักษณะคล้ายคลึงกับรูปแบบวิวัฒนาการ  แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ระบบที่ได้ในแต่ละช่วง
                4.รูปแบบเกลียว  (Spiral  Model)  วงจรการพัฒนาระบบในรูปแบบเกลียว  จะมีลักษณะที่กระบวนการวิเคราะห์  การออกแบบ  และการพัฒนา  จะวนกลับมาในแนวทางเดิมเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
13.การปรับเปลี่ยนระบบมีกี่วิธี  อะไรบ้าง  จงอธิบาย
ตอบ  การปรับเปลี่ยนระบบมี  4  วิธีดังนี้
                1.การปรับเปลี่ยนโดยตรง  (Direct  Conversion)  เป็นการแทนที่ระบบสารสนเทศเดิมด้วยระบบใหม่อย่างสมบูรณ์  โยการหยุดใช้ระบบเก่าอย่างสิ้นเชิงและเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่ในทันที
                2.การปรับเปลี่ยนแบบขนาน  (Parallel  Conversion)  เป็นการดำเนินการโดยใช้งานทั้งระบบสารสนเทศเก่าและระบบใหม่ไปพร้อม ๆ  กันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 
                3.การปรับเปลี่ยนแบบเป็นระยะ  (Phased  Conversion)  เป็นการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศเก่าไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่เฉพาะงานด้านใดด้านหนึ่งก่อน
                4.การปรับเปลี่ยนแบบนำร่อง  (Pilot  Conversion)  เป็นการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบสารสนเทศใหม่อย่างเป็นขั้นตอนและค่อยเป็นค่อยไป 



คำถามทบทวนบทที่  5
1.เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็นกี่แบบ  อะไรบ้าง
ตอบ  เราสามารถจำแนกการจัดการแฟ้มข้อมูลออกเป็น  2  แบบดังต่อไปนี้
                1.การจัดแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  (Sequential  File  Organization)  เป็นวิธีการจัดเก็บและรวบรวมระเบียบ 
                2.การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  (Random  File  Organization)  เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง  และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง
2.จงอธิบายความหมาย  ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม
ตอบ  การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม  (Random  File  Organization)  เป็นวิธีการจัดรวบรวมระเบียบข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง  และไม่ต้องผ่านระเบียบอื่นตามลำดับก่อนหลัง 
                การจัดแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มมีข้อดีดังนี้
                1.การเข้าถึงข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว 
                2.สะดวกในการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย
                3.มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานที่ต้องการประมวลผลแบบโต้ตอบ
                การจัดการแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มจะมีข้อจำกัดดังนี้
                1.ข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดและสูญหาย  เนื่องจากการดำเนินงานมีความยืดหยุ่น
                2.การเปลี่ยนแปลจำนวนระเบียบจะทำได้ลำบากกว่าวิธีเรียงลำดับ
                3.มีค่าใช้จ่ายสูง  เนื่องจากต้องใช้อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูง
3.ฐานข้อมูลคืออะไร  และเหตุใดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ   ฐานข้อมูล  (Database)  หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีแบบแผน    ที่ใดที่หนึ่งในองค์การ  เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถนำข้อมูลมาประมวลผล  และประยุกต์ใช้งานตามที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
4.เราสามารถจำแนกแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ  โครงสร้างข้อมูลเชิงตรรกะออกเป็น  3  ประเภท  ดังต่อไปนี้
                1.แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงลำดับขั้น  (Hierarchical  Data  Model)
                2.แบบจำลองการจัดการข้อมูลแบบเครือข่าย  (Network  Data  Model)
                3.แบบจำลองการจัดข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Data  Model)

5.จงเปรียบเทียบประโยชน์ในการใช้งานของแบบจำลองโครงสร้างข้อมูลแต่ละประเภท
ตอบ   ตารางเปรียบเทียบการใช้งานของแบบจำลองการจัดการข้อมูล

ชนิดของแบบจำลอง
ประสิทธิภาพการทำงาน
ความยืดหยุ่น
ความสะดวกต่อการใช้งาน
เชิงลำดับขั้น
สูง
ต่ำ
ต่ำ
เครือข่าย
ค่อนข้างสูง
ค่อนข้างต่ำ
ปานกลาง
เชิงสัมพันธ์
ต่ำ  (กำลังพัฒนา)
สูงหรือต่ำ
สูง


6.ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร  มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ตอบ  ระบบการจัดการฐานข้อมูล  (Database  Management  System;  DBMS)  หมายถึงชุดคำสั่งซึ่งทำหน้าที่สร้าง  ควบคุม  และดูแลระบบฐานข้อมูล  เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล  คัดเลือก  ข้อมูล  และสามารถนำข้อมูลนั้นมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
7.จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของพจนานุกรมข้อมูล
ตอบ  พจนานุกรมข้อมูล  (Data  Dictionary)  เป็นเครื่องมือที่จัดเรียบเรียงความหมายและอธิบายลักษณะที่สำคัญของข้อมูลในฐานข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและระเบียบ  เพื่อให้ง่ายต่อการค้นคว้าและนำไปใช้อ้างอิงในอนาคต  เนื่องจากอาจมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูล  เปลี่ยนแปลงผู้บริหารฐานข้อมูล  หรือเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต
8.นักบริหารฐานข้อมูลมีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง
ตอบ  หน้าที่สำคัญของนักบริหารฐานข้อมูลมีดังนี้
                1.ประสานงานกับผู้จัดการแฟ้มข้อมูล  (File  Manager)  ในการจัดเก็บ  เรียกใช้  และแก้ไขข้อมูล
                2.ควบคุมความสมบูรณ์แน่นอนของข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานตลอดเวลา       
3.ควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลมิให้ถูกจารกรรม  ก่อการร้าย  สูญหาย  หรือถูกทำลายโดยไม่ตั้งใจ
4.ดูแลรักษาข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม  ตลอดจนสร้างระบบข้อมูลสำรองขึ้น
5.ควบคุมความต่อเนื่องและลำดับในการทำงานที่เหมาะสม
9.เหตุใดบางองค์การจึงต้องมีหัวหน้างานด้านสารสนเทศ  (CIO)  และ  CIO  มีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไร
ตอบ  รองประธานบริษัท ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้างานด้านสารสนเทศ ตามแต่การแบ่งงานขององค์การ ขณะที่บางองค์การได้แยกหน่วยงานทางด้านสารสนเทศออกเป็นอิสระจากองค์การเดิม
10.จงอธิบายแนวโน้มของเทคโนโลยีฐานข้อมูลในอนาคต
ตอบ  ต้องมีความถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย ส่งผลให้องค์การไม่จำเป็นต้องทำการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง

คำถามทบทวนบทที่  6
1.ระบบเครือข่ายสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลต่อการพัฒนา  และการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจอย่างไร
ตอบ  เป็นระบบสารสนเทศที่เปรียบเสมือนระบบประสาทและสมองที่ควบคุมการทำงานภายใน รับสัมผัส และตอบสนองต่อภายนอก
2.ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่ชนิด  อะไรบ้าง
ตอบ  ระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็น  4  ชนิด  ดังนี้
                1.ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่  (Local  Area  Network; LAN)  เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ
                2.ระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมือง  (Metropolitan  Area  Network; MAN)  เป็นระบบเครือข่ายที่ต่อเชื่อมและครอบคลุมพื้นที่กว้างพอสมควร
                3.ระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่  (Wide  Area  Network;  WAN)  เป็นระบบเครือข่ายสื่อสารที่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่าระบบเครือข่ายเฉพาะเขตเมือง
                4.ระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ  (International  Network)  เป็นระบบเครือข่ายสื่อสารที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศ 
3.ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่  (LAN)  และระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ (WAN)  มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายเฉพาะพื้นที่  (LAN)  เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ  ที่อยู่ในระยะใกล้เข้าด้วยกัน  ส่วนระบบเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่  (WAN)  เป็นระบบเครือข่ายสื่อสารที่เชื่อมโยงระหว่างประเทศ  โดยที่ระบบเครือข่ายระหว่างประเทศทักใช้สายเคเบิลหรือดาวเทียมเป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูล
4.จงเปรียบเทียบคุณสมบัติและประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เพื่อที่จะให้ช่องทางส่งสัญญาณและส่งผ่านข้อมูลระหว่างกัน
5.รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายแบ่งออกเป็นกี่แบบ  อะไรบ้าง
ตอบ   รูปแบบของโทโปโลยีมี  4  แบบดังนี้
                1.โทโปโลยีแบบบัส  (Bus  Topology)  เป็นโทโปโลยีที่ได้รับนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
                2.โทโปโลยีแบบวงแหวน  (Ring  Topology)  เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ  เข้าเป็นวงกลม
                3.โทโปโลยีแบบดาว  (Star  Topology)  เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก
                4.โทโปโลยีแบบผสม  (Hybridge  Topology)  เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า
6.ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ลักษณะ  อะไรบ้าง
ตอบ  ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกเป็น  2  ช่องทาง
                1.การสื่อสารแบบมีสาย  (Wired  Transmission  Systems)  เป็นการสื่อสารข้อมูลผ่านสายนำสัญญาณ  ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ  สายโทรศัพท์
                2.ระบบสื่อสารแบบไร้สาย  (Wireless  Transmission  System)  เป็นการสื่อสารโดยแปรรูปสัญญาณและส่งสัญญาณผ่านไปในอากาศ  โดยไม่มีสายนำสัญญาณเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร
7.สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์  สายโคแอกเซียล  และสายใยแก้วนำแสง  มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  สายเกลียวคู่หรือสายโทรศัพท์  ประกอบด้วยเส้นลวดสองเส้นพันกันเป็นเกลียว  โดยมีฉนวนห่อหุ้มเส้นลวดเกลียวคู่แต่ละเส้นไว้  สายโคแอกเซียล มีลักษณะเป็นสายทรงกระบอกที่ทำด้วยทองแดง  และมีลวดนำอยู่ตรงกลาง  ส่วนสายใยแก้วนำแสง  มีลักษณะเป็นเส้นบาง ๆ  คล้ายเส้นใยแก้ว  โดยข้อมูลจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณแสงและส่งผ่านไปตามเส้นใยด้วยความเร็วแสง
8.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญาณแบบแอนะล็อก  กับสัญญาณแบบดิจิตอล
ตอบ  สัญญาณแบบแอนะล็อก  จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องระดับของสัญญาณ  จะเปลี่ยนแปลงสูงหรือต่ำอย่างต่อเนื่อง  ส่วนสัญญาณแบบดิจิตอลจะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง  2  ค่า  คือ  สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด



คำถามทบทวนบทที่  7
1.จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการตัดสินใจ
ตอบ    การจัดการก็คือ กิจกรรมต่างๆที่แต่ละองค์การจะต้องทำ เช่น การเข้าประชุม การวางแผนงาน    การติดต่อกับลูกค้า จัดงานเลี้ยงเปิดตัวสินค้า โดยที่ Henri Fayol ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการไว้ 5 ประการด้วยกันคือ การวางแผน การจัดองค์การ การประสานงาน การตัดสินใจและการควบคุม จะเห็นว่าการตัดสินใจก็เข้ามามีบทบาทสำคัญเช่นกัน  องค์การจะประสบความสำเร็จหรือประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการต่างๆ นับว่ามีส่วนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ การเลือกโอกาส หรือแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสำคัญ
2.เราสามารถจำแนกการตัดสินใจภายในองค์การออกเป็นกี่ระดับ  อะไรบ้าง
ตอบ  การตัดสินใจมี  3  ระดับดังนี้
                1. การตัดสินใจระดับกลยุทธ์
                2. การตัดสินในระดับยุทธวิธี
                3. การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ
3.เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็นกี่ขั้นตอน  อะไรบ้าง
ตอบ    เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็น  3 ขั้นตอน คือ
                1.  การใช้ความคิดประกอบเหตุผล
                2.  การออกแบบ
                3.  การคัดเลือก
4.การตัดสินใจมีกี่ประเภท  อะไรบ้าง
ตอบ    การตัดสินใจมี 3 ประเภท คือ
                1.  การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง
                2.  การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง
                3.  การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง
5.การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน  และการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง  มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ตอบ  เป็นการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่อาจจะวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้า และมักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลากหลาย ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับอนาคต

6.จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
7.DSS  มีส่วนประกอบอะไรบ้าง  จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ        1.  อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและเป็นโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
                     - อุปกรณ์ประมวลผล 
                     - อุปกรณ์สื่อสาร
                     - อุปกรณ์แสดงผล DSS
                2.  ระบบการทำงาน มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นว่า ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนดังนี้
                     - ฐานข้อมูล
                     - ฐานแบบจำลอง
                     - ระบบชุดคำสั่งของ DSS
                3.  ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย และได้รับการออกแบบระบบการทำงานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งานมากเพียงใด ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอ แล้วก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
                4.  บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคคลจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การกำหนดปัญหาและความต้องการ การพัฒนา การออกแบบและการใช้ DSS ซึ่งเราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
                     - ผู้ใช้
                     - ผู้สนับสนุน


8.การพัฒนา  DSS  มีความเหมือนหรือความแตกต่างจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ  DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติการที่แลกเปลี่ยน เก็บรวบรวม และประมวลผลข้อมูลคือ DSS จะจัดการกับข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่เหมาะสมกับการตัดสินใจของผู้ใช้ โดย DSS จะใช้ข้อมูลที่ประมวลผลจากระบบการปฏิบัติการมาจัดระเบียบ และวิเคราะห์ตามคำสั่งและความสนใจของปัญหา นอกจากนี้ DSS ยังช่วยเร่งพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุม มากกว่าการปฏิบัติงานประจำวัน
9.ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนา  DSS  อย่างไร
ตอบ        1.  การวิเคราะห์ระบบ เป็นขั้นตอนแรกในการพัฒนา DSS โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะกำหนดถึงปัญหา ตลอดจนวิเคราะห์หาขั้นตอนที่สำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหานั้นๆ
                2.  การออกแบบระบบ จะเป็นระบบสารสนเทศที่มีความพิเศษในตัวเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยๆ ผู้ออกแบบควรจะออกแบบให้ระบบมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับตัวได้ตามความเหมาะสมและมีความสะดวกต่อผู้ใช้
                3.  การนำไปใช้ DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไป ที่ผู้ใช้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบจากแรกเริ่มต้นจนถึงสภาวะปัจจุบัน และจะพัฒนาต่อไปในอนาคต
10.จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม  (GDSS)
ตอบ  ประโยชน์ของ GDSS มีดังนี้
                1.  ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
                2.  มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
                3.  สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
                4.  สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
                5.  มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
                6.  ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
                7.  มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น